Oct 30, 2021 24116

เจาะลึกเบื้องหลัง จากการร่วมมือระดับอาเซียน สู่ “ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน” แห่งแรกของภูมิภาค เชื่อมความสัมพันธ์ สร้างความภาคภูมิใจ

share this:

เกาะรัตนโกสินทร์ เรียกได้ว่าเป็นศูนย์รวมนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ หรือศูนย์วัฒนธรรมหลายแห่ง และทุกแห่งมีจุดเด่นความน่าสนใจแตกต่างกันไป มีหนึ่งแห่งที่เราอยากให้ทุกคนได้เข้าไปสัมผัส กับนิทรรศการ ที่รวมรวบความรู้ ความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมมากมาย ไม่ใช่แค่ประเทศไทย แต่มีให้ได้ซึมซับมากถึง 10 ประเทศ ทุกประเทศตั้งอยู่ในภูมิภาคอาเซียน สนุกเข้าใจง่าย เพลิดเพลินกับการนำเสนอเนื้อหา ที่ผสานเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นการเดินเที่ยวนิทรรศการที่รับรองว่าไม่น่าเบื่อ ที่นี่คือ “ASEAN Cultural Center” หรือ “ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน”


จากจุดเริ่มต้นของการจับมือในระดับภูมิภาคอาเซียน เพื่อเป็นการเสริมสร้างและกระตุ้นให้เกิด การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในระดับสากล โดยลงนามร่วมกันระหว่าง 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2510

จนมาถึงปัจจุบัน นับเวลาได้ 54 ปี ประชาคมอาเซียนได้มีประเทศเข้าร่วมเพิ่มขึ้นเป็น 10 ประเทศ และ ยังคงความร่วมมือกันเป็นอย่างดี เมื่อประชาคมอาเซียนมีสมาชิกเพิ่มขึ้น การเรียนรู้จึงเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจถึงความหลากหลายของวัฒนธรรมที่แตกต่าง และเชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างไร้รอยต่อ

“ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน”

ก่อตั้งขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน นิทรรศการภายใน มีการจัดแสดงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของอาเซียนที่มีความงดงาม หลากหลายและคล้ายคลึง รวมถึงสะท้อนวิถีชีวิต รากเหง้า วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญาของภูมิภาคอาเซียน รวมถึงมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าจากประเทศสมาชิกอาเซียน ผสมผสานกับเทคโนโลยีมัลติทัชและมัลติมีเดีย สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนรู้สามารถมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันอย่างสนุกสนาน นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่แห่งการมีส่วนร่วมในด้านศิลปะวัฒนธรรม สร้างความสัมพันธ์ให้กับผู้คนในประชาคมอาเซียน และเป็นแรงบันดาลใจให้กับประเทศสมาชิกอาเซียนในการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน ตลอดจนนำไปสู่การสร้าง บุคลากรทางด้านวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน

โดย คุณยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้พูดถึง วัตถุประสงค์และที่มาของการจัดตั้ง “ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน” ไว้ดังนี้


เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนขึ้น เพื่อเป็นการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และรองรับการขับเคลื่อนอาเซียนในด้านวัฒนธรรม ซึ่ง “วัฒนธรรม” นั้น เป็น soft power เป็นพลังที่มีอำนาจ แรงผลักดันให้เกิดการแพร่กระจายได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการสร้างความภาคภูมิใจ สร้างความตระหนักรู้ในวัฒนธรรมของอาเซียน โดยการกระตุ้น ให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยอมรับในวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย

นอกจากนี้ เรายังมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมของอาเซียน ด้วยการเป็น ศูนย์การเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมอาเซียน แห่งแรกและแห่งเดียวของภูมิภาคอาเซียนแห่งนี้

จากที่ คุณยุพา ทวีวัฒนกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้พูดถึงที่มาและวัตถุประสงค์ ของ “ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน” ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนเป็นอีกหนึ่งสถานที่ ถ้าคุณอยากเข้าใจวัฒนธรรมวิถีชีวิต ของ ประชาคมอาเซียนได้อย่างแท้จริง ขอบอกว่าตอบโจทย์ได้อย่างดี ทีนี้มาดูกันว่าคุณจะได้สัมผัส กับประสบการณ์อะไรบ้างเมื่อคุณก้าวเท้าเข้าไป

ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนแห่งนี้เป็นมิตรกับผู้ชมทุกเพศทุกวัย เหมาะกับผู้ชมที่มาทั้งในรูปแบบครอบครัว เพื่อนฝูง หรือเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะจากสถานศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วยพื้นที่สำหรับจัดแสดง นิทรรศการถาวร นำเสนอองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมอาเซียนผ่านการใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียที่หลากหลาย และทันสมัย เพื่อส่งเสริม การเรียนรู้และดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชม ตลอดจนพื้นที่สำหรับจัดนิทรรศการหมุนเวียนและกิจกรรมพิเศษ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน และส่งเสริมประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริง


โดยแบ่งพื้นที่การเรียนรู้ภายในศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่ เราอยู่ร่วมกัน ผูกพัน หนึ่งเดียว เที่ยวไปในอาเซียน เยี่ยมเยียนครัวริมทาง เรียนรู้กลางสวน และชวนกันสร้างสรรค์

ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนได้กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ดีขึ้น ซึ่งนอกจากนิทรรศการถาวรที่เปิดให้เข้าชมแล้ว ในพื้นที่ ชวนกันสร้างสรรค์ กำลังมีนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เมืองสร้างสรรค์แห่งอาเซียน” นิทรรศการที่จะพาทุกคน ไปทำความรู้จักกับ “เมืองสร้างสรรค์” (Creative City) ภายใต้โครงการ “เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก” (UNESCO Creative Cities Network) ทั้ง 11 เมือง ในภูมิภาคอาเซียน โดยการจำลองภาพบรรยากาศ ของเมืองต่างๆ เสมือนผู้ชมได้ไปเยี่ยมชมเมืองเหล่านั้นด้วยตัวเอง

โครงการเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ แบ่งออกเป็น 7 สาขา ได้แก่ วรรณกรรม (Literature) การออกแบบ (Design) ภาพยนตร์ (Film) ดนตรี (Music) หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (Craft and Folk Arts) สื่อศิลปะ (Media arts) และวิทยาการอาหาร (Gastronomy) โดยเมืองสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียนที่ได้รับการคัดเลือกจากยูเนสโก มีทั้งหมด 11 เมือง จาก 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม จัดขึ้นเพื่อเป็นแบบอย่างและการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนา เป็นเมืองสร้างสรรค์ต่อไปในอนาคต

คุณ คุณยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้บอกกับเราว่า เหตุที่เลือกจัดนิทรรศการพิเศษหัวข้อ “เมืองสร้างสรรค์แห่งอาเซียน : ASEAN Creative Cities”เพื่อเป็นการขับเคลื่อนโครงการเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ หรือ Creative Cities Network ของยูเนสโก ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งเสริมความเข้าใจ เมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก รวมถึงสนับสนุนความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรื่อง เมืองสร้างสรรค์ในระดับนานาชาติโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เพื่อตอบสนองเป้าหมายความสำเร็จ ของกิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์เนื่องในวาระปีสากลแห่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2564 (International Year of Creative Economy for Sustainable Development)

ในด้านการดำเนินโครงการ กิจกรรม มหกรรม หรือนิทรรศการ ด้านการประชาสัมพันธ์ และสร้าง ความตระหนักรู้ และด้านการต่อยอดบูรณาการภายในประเทศและในระดับสากล รวมถึงการใช้จุดเด่น จากความหลากหลายทางวัฒนธรรมของเมืองสร้างสรรค์ในประเทศไทย ได้แก่ ภูเก็ตเมืองสร้างสรรค์สาขาอาหาร เชียงใหม่และสุโขทัยเมืองสร้างสรรค์สาขาหัตถกรรมพื้นบ้าน และกรุงเทพเมืองสร้างสรรค์สาขาออกแบบ

ในการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวตาม BCG Model โมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติ ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก ได้แก่ B Bio Economy ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ การใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า C Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และ G Green Economy คือ ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน

ซึ่งนอกจากการจัดนิทรรศการแล้ว ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนยังได้กำหนดจัดการบรรยายให้ความรู้ และการสาธิตทางวัฒนธรรมจากเมืองสร้างสรรค์ในประเทศไทย ในช่วงเดือนพฤศจิกายน โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะได้เรียนรู้เชิงปฏิบัติการร่วมกับผู้แทนเมืองสร้างสรรค์ของประเทศไทยในแต่ละสาขาด้วยตนเอง

สำหรับผู้ชมที่ไม่สะดวกมาที่ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนก็สามารถเข้าชมนิทรรศการในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual Exhibition) ที่สามารถเข้าชมนิทรรศการได้จากทุกที่ เสมือนได้เดินเยี่ยมชมนิทรรศการด้วยตนเอง ในพื้นที่จริง หรือติดตามข้อมูลด้านวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นวันสำคัญต่างๆ สถานที่ท่องเที่ยว ประเพณี หรือเทศกาลต่างๆ ของอาเซียน ได้ทาง Facebook Fanpage ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน

สุดท้ายนี้ “ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน” เป็นอีกหนึ่งนิทรรศการที่นำเสนอเรื่องราวของกลุ่มประเทศอาเซียนได้เป็นอย่างดี และ สนุกกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ทำให้เราได้มีส่วนร่วมในการเข้าถึงวัฒนธรรม ของแต่ละประเทศได้อย่างไม่น่าเบื่อ ได้รับรู้เรื่องราววัฒนธรรมที่ช่วยสร้างพลัง และ ขับเคลื่อนให้กับกลุ่มประเทศอาเซียน

และนี่คือทั้งหมด ที่ไม่ใช่ทั้งหมด ถ้าหากคุณอยากออกไปเรียนรู้เรื่องราววัฒนธรรมอาเซียนด้วยตนเอง “ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน” เป็นอีกหนึ่งสถานที่ ที่คุณสามารถพาคนในครอบครัว ความเป็นมาและ ชื่นชมวัฒนธรรม ของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาช้านาน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในแรงผลักดัน เผยแพร่ รับรู้ ภาคภูมิใจในเรื่องราวของอาเซียน กับ “ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน”


ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน
ชั้น 3 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

โทรศัพท์ : 02-224-4279

โทรสาร : 02-224-4279

เว็บไซต์ : www.acc-th.com

อีเมล : aseanculturalcenter@gmail.com

เปิดทำการทุกวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 10.00-17.00 น.

ปิดวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์

related

EDT

เจาะลึกเบื้องหลัง จากการร่วมมือระดับอาเซียน สู่ “ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน” แห่งแรกของภูมิภาค เชื่อมความสัมพันธ์ สร้างความภาคภูมิใจ

เกาะรัตนโกสินทร์ เรียกได้ว่าเป็นศูนย์รวมนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ หรือศูนย์วัฒนธรรมหลายแห่ง และทุกแห่งมีจุดเด่นความน่าสนใจแตกต่างกันไป มีหนึ่งแห่งที่เราอยากให้ทุกคนได้เข้าไปสัมผัส กับนิทรรศการ ที่รวมรวบความรู้ ความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมมากมาย ไม่ใช่แค่ประเทศไทย แต่มีให้ได้ซึมซับมากถึง 10 ประเทศ ทุกประเทศตั้งอยู่ในภูมิภาคอาเซียน สนุกเข้าใจง่าย เพลิดเพลินกับการนำเสนอเนื้อหา ที่ผสานเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นการเดินเที่ยวนิทรรศการที่รับรองว่าไม่น่าเบื่อ ที่นี่คือ “ASEAN Cultural Center” หรือ “ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน”
EDT

เรากินอาหารกระป๋องกันมาตั้งแต่เมื่อไหร่?

อาหารกระป๋องแท้จริงก็คือ การถนอมอาหารอย่างหนึ่งเป็นวิทยาการด้านอาหารของชาวตะวันตก ที่เอาของสดมายืดอายุการเก็บรักษา มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน และนับว่าเมื่อมีอาหารกระป๋องก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในโลกของอาหารเป็นอย่างมากทีเดียว
EDT

The Insider of Lobster Gangsters มันกุ้ง Lobster ผลผลิตจากเศษอาหาร สู่รางวัลเหรียญทองนานาชาติ

ร้านที่เสมือนเป็นตัวแทนความทรงจำและแรงบันดาลใจของ “พี่มนต์”มณทิรา เจริญวัลย์ สู่ความเป็นเหรียญทองในวันนี้
EDT

5 เรื่องราวของ “ติ่มซำ” ที่ทำให้กลายเป็นอาหารที่นิยมทั่วโลก

ติ่มซำอาหารยอดนิยมของจีนที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก มารู้จักติ่มซำแบบเจาะลึกกันว่าจริงๆแล้วมีอะไรมากกว่าที่เราคิด และสาเหตุอะไรกันที่ทำให้เมนูจานเล็กๆเหล่านี้กลายเป็นที่นิยมทั่วโลก
EDT

“น้ำพริก” คนไทยกินมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

น้ำพริก เป็นเมนูทำง่าย อยู่คู่ครัวชาวไทยมาอย่างช้านาน เป็นที่นิยมในครัวเรือนทั่วประเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เมืองไทยมีเมนูน้ำพริกหลากหลายมาก แต่ละภาคมีวิธีการทำที่แตกต่าง รสชาติก็ต่างกัน
EDT

ผัดกะเพรา เมนูสิ้นคิดประจำชาติไทย

ผัดกะเพรา เป็นเมนูอาหารง่ายๆ ทำกินได้แบบด่วนๆ (ภาษาอังกฤษคงเรียก Fast Food) ปรากฎอยู่ในแทบจะทุกร้านอาหารประเภทตามสั่งในบ้านเรา วิธีการทำไม่ซับซ้อนเลย ปรุงได้โดยวิธีการผัดในกะทะ ใส่เนื้อสัตว์ลงไปผัดกับน้ำมันร้อนๆ ใส่พริก ใส่กระเทียม ปรุงรสตามใจชอบ ได้ที่แล้วจึงใส่ใบกะเพราเพิ่มกลิ่นและความฉุน ผัดให้เข้ากันก็ยกลงจากเตารับประทานได้
EDT

ข้าวผัด มรดกทางวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของโลก

ข้าวผัด อีกหนึ่งในอาหารจานโปรดของใครหลายๆคน เมนูที่หน้าตาสุดแสนจะธรรมดาและหาทานได้ทั่วไปตามร้านอาหารตามสั่งไม่ต่างจากผัดกะเพรา แต่รู้หรือไม่ว่า ข้าวผัดนี้ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทย หากแต่สามารถหาทานได้ทั่วโลก มีต้นกำเนิด มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน รวมถึงมีเรื่องราวที่น่าสนใจมาก โดยเฉพาะข้าวผัดหยางโจว สำรับข้าวผัดเก่าแก่จากประเทศจีน มีอายุกว่า 1400 ปี ซึ่งอาจจะถือได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของบรรดาข้าวผัดทั้งหมดทั้งหมดทั้งมวลบนโลกนี้เลยทีเดียว
EDT

ย้อนเวลาตามหาที่มาของ Staycation เทรนด์การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ในยุค New Normal

Staycation เกิดจากรวมกันของคำ 2 คำที่มีความหมายขัดแย้ง ได้แก่คำว่า Stay กับ Vacation กลายเป็นคำใหม่ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า การหยุดพักผ่อนอยู่กับบ้าน หรือ เดินทางท่องเที่ยวอยู่แถวบ้าน ซึ่งต่างจากความหมายของคนทั่วไปที่ว่า การพักร้อนจะต้องออกไปเที่ยวที่ไกลๆ นั่นเอง
EDT

Video on Demand Application เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแอพดูหนัง

แอพดูหนังมีการเติบโดสูง และเป็นกิจกรรมยอดฮิตของคนไทยในยุคโควิด 19
EDT

The Insider of Bonita Vegan

ลูกค้าของพี่เป็นนักท่องเที่ยว 90% ก็คือตอนนี้เราปิดประเทศอยู่ก็ไม่มีลูกค้า แต่ก็มี 10% ที่บอกให้พี่ไปต่อ

recommend

สำหรับผู้ใช้ edtguide
สำหรับร้านค้าหรือธุรกิจ

© 2020 edtguide.com by Cheese Digital Network Co., Ltd. Privacy Policy